Product Description
แผ่นตรวจน้ำตาล ONETOUCH รุ่น ULTRA 50 ชิ้น
รายละเอียดสินค้า แผ่นตรวจน้ำตาล ONETOUCH รุ่น ULTRA 50 ชิ้น
- แผ่นตรวจน้ำตาล ONETOUCH รุ่น ULTRA 50 ชิ้น ใช้กับเครื่องตรวจวัดน้ำตาลยี่ห้อ ONETOUCH รุ่น ULTRA
- ในกล่องจะบรรจุแผ่นตรวจวัดน้ำตาลจำนวน 25 แผ่น
- ราคาแผ่นตรวจน้ำตาล ONETOUCH รุ่น ULTRA 50 ชิ้น 1,050 บาท
โรคเบาหวานและค่าระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวานและค่าระดับน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือจากการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ น้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต ระบบประสาท โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร
ในคนปกติในระยะที่ไม่ได้รับประทานอาหารตับจะมีการสร้างน้ำตาลออกมาตลอดเวลา เพื่อให้เป็นอาหารของสมองและอวัยวะอื่นๆ ในระยะหลังรับประทานอาหารพวกแป้งจะมีการย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพื่อเพิ่มการนำน้ำตาลไปใช้ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมาเป็นปกติ
ในผู้ป่วยเบาหวานที่อาจเกิดจากการขาดอินซูลินหรือดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลินทำให้ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ ขณะเดียวกันมีการย่อยสลายไขมันและโปรตีนในเนื้อเยื่อมาสร้างเป็นน้ำตาลมากขึ้น ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง จนล้นออกมาทางไตและมีน้ำตาลในปัสสาวะ เป็นที่มาของคำว่า เบาหวาน
อาการของโรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาลคนปกติจะอยู่ในช่วง 70-99 มก./ดล. ก่อนรับประทานอาหารเช้า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจากค่าปกติไม่มากอาจไม่มีอาการชัดเจน จะต้องทำการตรวจเลือดเพื่อการวินิจฉัย โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดหรือเครื่องตรวจเบาหวาน
ถ้าไม่ทราบว้าเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานานผู้ป่วยอาจมาตรวจพบด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสูงกว่าค่าปกติมากอาจมีอาการจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือจากภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
- ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะช่วงกลางคืน เกิดจากการที่น้ำตาลรั่วมากับปัสสาวะและดึงน้ำออกมาด้วย
- คอแห้ง ดื่มน้ำมาก กระหายน้ำ เกิดจากที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ
- หิวบ่อยทานจุ แต่น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย เกิดจากร่างกายใช้กลูโคสเป็นอาหารไม่ได้ ต้องใช้โปรตีนและไขมันเป็นพลังงานแทน
- แผลหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง เกิดแผลได้บ่อย น้ำตาลที่สูงทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง
- คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยหญิง
- ตาพร่ามัว อาจเกิดจากน้ำตาลคั่งในเลนซ์ตา ดรคจอประสาทตาจากเบาหวานหรือต้อกระจก
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน-เป็นโรคเบาหวานหรือไม่
การวินิจฉัยอาศัยระดับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
- มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล. โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
- ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้า ตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
- การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัมพบว่ามีระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคสตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป
- ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง 100-125 มก./ดล. เรียกว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ
- ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัม ที่อยู่ในช่วง 140-199 มก./ดล. เรียกว่า ความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง
ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่าเป็น ระยะก่อนเป็นเบาหวาน
ผู้ที่ควรตรวจหาโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานดังข้างต้น
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
- เคยมีระดับน้ำตาลอยู่ในระยะก่อนเบาหวาน
- เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- คลอดบุตรหนักมากกว่า 4 กก.
- มีความดันโลหิตสูง
- มีไขมันในเลือดผิดปกติ
- มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง
- มีโรคที่บ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้แก่โรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง
ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวแม้ไม่มีอาการของโรคเบาหวานควรตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในข่ายสงสัย ควรตรวจซ้ำในระยะ 1 ปี
ประเภทของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้
- เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในคนอายุน้อย มักต่ำกว่า 30 ปี มากที่สุดเกิดในช่วงวัยรุ่น เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอม อาจเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือเลือดเป็นภาวะคีโตน การรักษาต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5 %
- เบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีการหลั่งอินซูลินลดลง มักมีรูปร่างอ้วนและมีประวัติดรคเบาหวานในครอบครัว สามารถรักษาด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล ในรายที่เป็นนานๆ การสร้างอินซูลินลดลงมากๆ ก็อาจต้องฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบมากกว่า 95%
- โรคเบาหวานที่มีสาเหตุเฉพาะ เช่น โรคเบาหวานที่สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โรคของตับอ่อน ฮอร์โมนผิดปกติ จากยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
- โรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะผู้ป่วยตั้งครรภ์ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ที่มีผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรักษามักต้องใช้อินซูลิน หลังคลอดเบาหวานมักหายไป และผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อมีอายุมากขึ้น
การป้องกันโรคเบาหวาน
การให้โภชนะบำบัดที่เหมาะสม การออกกำลังกายและ การลดน้ำหนัก 5-10% ในผู้ที่อ้วนสามารถลดการเป็นเบาหวานได้
การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด จะต้องควบคุมโรคไปตลอดชีวิตและอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ ในการดูแลตนเองตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ การรักษาได้แก่
- การควบคุมอาหาร
- การออกกำลังกาย
- การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาล และ/หรืออินซูลิน
- การได้รับสุขศึกษาในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ และสามารถปฎิบัติตนในการควบคุมดรคเบาหวานได้ถุกต้อง
โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
เป็นผลจากการควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี อาจมีปัจจัยอื่นร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง การสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ การเกิดเลือดเป็นกรดจากคีโตน ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูงจากการติดเชื้อ การเกิดน้ำตาลต่ำจากยาที่ใช้รักษา
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว การควบคุมเบาหวานไม่ดีในระยะยาว ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในระยะยาว ได้แก่ โรคจอประสาทตาจากเบาหวาน โรคไตวาย โรคประสาทส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย นำไปสู่ความสูญเสียชีวิตและพิการ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา
เป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวาน
เป้าหมายการควบคุมตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา
เป้าหมาย
- น้ำตาลก่อนอาหาร (มก./ดล.) 90-13
- น้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง (มก./ดล.) <180
- น้ำตาลเฉลี่ย HbA1C (%) <7
- โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <180
- เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) >40
- แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <100
- ไตรกลีเซอไรด์ (มก./ดล.) <150
- ดัชนีมวลกาย (กก./ตรม.) <23
- ความดันโลหิต (มม.ปรอท) <130/80
- ออกกำลังกาย (นาที/สัปดาห์) > 150
สนใจสินค้าโทรเลย 086-330-4007
ID LINE: @banyavi (อย่าลืมใส่ @ ด้วยนะคะ)
Reviews
There are no reviews yet.