Product Description
ถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยครบชุด ขนาด 1.5 คิว
ถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยครบชุด ขนาด 1.5 คิว ตัวถังเป็นเหล็กหล่อ แข็งแรงทนทาน มีฝาเหล็กครอบ , วาล์วหมุนเปิด-ปิด เป็นทองเหลือง เมื่อใช้ Oxygenจนหมดถังแล้ว สามารถนำไปเติมใหม่ได้
ราคาถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยครบชุด ขนาด 1.5 คิว 4,100 บาท
สินค้าชุดนี้ประกอบด้วย
- ถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย ขนาด 1.5 คิว จำนวน 1 ถัง
- รถเข็นถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย ขนาด 1.5 คิว จำนวน 1 ตัว
- เกย์ออกซิเจน ยี่ห้อ Best Air จำนวน 1 ตัว
- กระบอกใส่น้ำออกซิเจน จำนวน 1 ชิ้น
- สาย Cannula (สายออกซิเจนใสจมูก) จำนวน 1 เส้น
- จุกพ่นยา จำนวน 1 ชิ้น
- ประแจ จำนวน 1 ชิ้น
รายละเอียดสินค้า ถังออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยครบชุด ขนาด 1.5 คิว
- สูงประมาณ 95 cm. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 14 cm.
- น้ำหนักรวมแก๊สประมาณ 17 kg.
ถังออกซิเจนใช้ได้นานเท่าไหร่
- ระยะเวลาในการใช้งานออกซิเจนในถังออกซิเจน ขึ้นอยู่กับ
>> ขนาดของถัง
>> อัตราการเปิดใช้งาน หรือ อัตราการไหลของออกซิเจน ขณะใช้งาน หน่วยเป็น ลิตรต่อนาที
>> ระดับความดันของออกซิเจนที่เหลืออยู่ในถังออกซิเจน หรือปริมาณออกซิเจนที่เหลืออยู่ในถัง
- ระยะเวลาโดยประมาณในการใช้ ออกซิเจนผู้ป่วย จนหมดถัง ดังนี้
>> ถังออกซิเจนผู้ป่วยขนาด 0.5 คิว ใช้ได้ประมาณ 1 -1.5 ชั่วโมง โดยใช้อัตราการไหลของออกซิเจน 3 – 5 ลิตรต่อนาที
>> ถังออกซิเจน 1.5 คิว ใช้ได้ประมาณ 3 -3.5 ชั่วโมง โดยใช้อัตราการไหลของออกซิเจน 3 – 5 ลิตรต่อนาที
>> ถังออกซิเจน 2.0 คิว ใช้ได้ประมาณ 4 -5 ชั่วโมง โดยใช้อัตราการไหลของออกซิเจน 3 – 5 ลิตรต่อนาที
วิธีการใช้งานถังออกซิเจนผู้ป่วย
- วิธีติดตั้ง อุปกรณ์วัดแรงดันออกซิเจน (เกจ์ออกซิเจน)
- ให้หันทางออกของออกซิเจน ไปทางที่ปลอดภัย แล้วให้ทำการเปิดวาล์วของถังออกซิเจนออกเล็กน้อยด้วยความระมัดระวัง เพื่อเป่าฝุ่นที่ตกค้างอยู่ออก และให้ทำการปิดวาล์ว
- ให้ทำการต่ออุปกรณ์วัดแรงดันเข้ากับหัวถังออกซิเจน โดย ให้ขันน๊อตให้แน่นอย่างพอดี และไม่ฝืน
- เปิดวาล์วถังออกซิเจนอย่างช้าๆ
- การปรับตั้งค่าการไหลของออกซิเจน
- ให้หมุนที่ลูกบิดบนอุปกรณ์วัดแรงดัน เพื่อเปิดและปรับอัตราการไหล โดยดูที่กึ่งกลางของลูกลอยอยู่ ณ เส้นตำแหน่งบอกปริมาณการไหล
- เมื่อใช้งานเรียบร้อยแล้วควรปิดอุปกรณ์วัดแรงดัน ทุกครั้ง
- ตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าลอยลอยนิ่งและตกลงมาจนสุด
- การถอดอุปกรณ์วัดแรงดันจากถังออกซิเจน
- ให้ทำการปิดวาล์วของถังออกซิเจน และตรวจสอบดูว่าไม่มีการรั่วซิม
- ให้ทำการเปิดอุปกรณ์วัดแรงดัน เพื่อทำการปล่อยแรงดันทีีตกค้างภายในออกจากระบบให้หมด ดูได้จากหน้าปัดของชุดควบคุมแรงดัน และ ลูกลอยของอุปกรณ์ปรับอัตราการไหล ควรจะลงมาอยู่ที่ศูนย์
- เสร็จแล้วให้ปิดอุปกรณ์วัดแรงดันอีกครั้ง ก่อนทำการถอดอุปกรณ์วัดแรงดันออก
- ให้ถอดกระบอกใส่น้ำออก
- ถอดอุปกรณ์วัดแรงดันออกจากถังออกซิเจน
คุณลักษณะของถังออกซิเจนผู้ป่วย
ถังอัดก๊าซออกซิเจน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าถังออกซิเจนหรือท่อออกซิเจน เป็นการใช้ออกซิเจนจากถังที่บรรจุโดยแรงดัน และด้วยวิธีนี้ออกซิเจนจะถูกบรรจุในถังด้วยแรงดัน โดยทั่วไปจะบรรจุที่แรงดันประมาณ 2,000 -3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
การใช้ออกซิเจนจากถังต้องใช้หัวต่อเพื่อลดแรงดันหรือที่เรียกว่า เกจ์ออกซิเจน (Oxygen Regulator) เพื่อให้สามารถปรับอัตราการไหลของถังออกซิเจนได้
ข้อควรระวังในการใช้ถังออกซิเจนผู้ป่วยในบ้าน
- เมื่อใช้งานถังออกซิเจนต้องวางถังให้ตั้งตรง
- ควรวางถังออกซิเจนไว้ให้ห่างจากแหล่งให้ความร้อน เช่น เตาแก๊ส อย่างน้อย 2 เมตร
- ห้ามสูบบุหรีหรือทำให้เกิดประกายไฟใกล้ถังออกซิเจน
- ควรวางถังออกซิเจนไว้ในที่ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ห้ามใช้งานถังออกซิเจนในสถานที่มีความเสี่ยงทีจะโดนสารเคมีที่ทำให้ถังออกซิเจน หรืออุปกรณ์ต่างๆ เสื่อมคุณภาพ
- ห้ามถอดอุปกรณ์ปรับแรงดันขณะที่มีแรงดันอยู่ภายในระบบ (เช่น หน้าปัดแสดงว่ามีแรงดันอยู่) โดยเด็ดขาด
สนใจสินค้าโทรเลย 090-956-6831
ID LINE: @banyavi (อย่าลืมใส่ @ ด้วยนะคะ)
Reviews
There are no reviews yet.